Dancing Skeleton : โครงกระดูกเต้นระบำ

Dancing Skeleton : โครงกระดูกเต้นระบำ

ธีม Dancing Skeleton : โครงกระดูกเต้นระบำ เป็นธีมที่ THEMEchitect ระดมความคิดกันเป็นอย่างมากระหว่างทีมดีไซเนอร์และทีมผลิต เนื่องจากลูกค้าเป็นร้านผับบาร์ที่ต้องการจัดตกแต่งเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศของร้านให้แตกต่างไปจากวันธรรมดาของทางร้านในวันฮาโลวีน ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างมาก THEMEchitect จึงนำเสนอธีม Dancing Skeleton ที่ประกอบไปด้วย การตกแต่งด้วยลูกดิสโก้หลากหลายขนาด โครงกระดูกทั้งหลายออกมาเต้นระบำ ใช้เทคนิคเรื่องการเคลื่อนไหวโดยเลือกจุดที่ผ่านลมแอร์เพื่อให้ลูกดิสโก้หมุนวนเพิ่มความระยิบระยับ รวมถึงใช้เทคนิคการใช้แสงจำนวนมาก ทำให้รู้สึกได้เลยว่าโครงกระดูกที่เป็นพร็อพด้านบนโครงเต้นระบำได้จริงๆ

THT Halloween IG Post 2
ชื่อธีม

Dancing Skeleton : โครงกระดูกเต้นระบำ

ประเภทงาน

การตกแต่งพื้นที่เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ ตามเทศกาลในร้านแนว ผับ บาร์ขนาดใหญ่ เน้นการจัดคอนเสิร์ต กลุ่มลูกค้าเป็นแนวนักศึกษามหาลัย ที่ชอบพบปะสังสรรค์กัน และถ่ายภาพลง social 

สถานที่จัดงาน

ร้านผับบาร์แถว พระราม 7 เป็นร้านที่มีพื้นที่สองชั้น มีจอ Led เพื่อชมฟุตบอล มีระบบแสงสีเต็มรูปแบบในลักษณะการจัดคอนเสิร์ต

ลูกค้าให้โจทย์มา

ร้านผับบาร์ที่ต้องการจัดตกแต่งเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศของร้านให้แตกต่างไปจากวันธรรมดาของทางร้าน และทำให้งานคอนเสิร์ตประจำเดือน มีลูกเล่นและแตกต่างไปจากงานในช่วงเทศกาลฮาโลวีนทั่วไป แต่สิ่งที่เน้นนอกเหนือจากความแตกต่างของงานฮาโลวีนธรรมดาถือไม่ใช่เรื่องงานเลย

THEMEchitect จึงตอบโจทย์ลูกค้า

จากการศึกษาพื้นฐานของร้านที่ผู้บริหารเป็นการรวมตัวของชายหนุ่มกลุ่มเพื่อน ทีมงาน THEMEchitect ก็คิดว่า ต้องหากอะไรที่แตกต่างและเท่เสียหน่อย และมีจะกระตุ้นแรง surprise ให้ตื่นตาตื่นใจร่วมด้วย พวกเราเลยออกแบบงานนี้ให้มีแรงบันดาลใจจาก สีสันโทนแสง , ความเท่ในความรู้สึก และความตื่นเต้นของบรรยากาศของสถานที่ ที่มีการรวมกันของวัยรุ่นที่เรียกว่าเป็นผู้ใหญ่หัดขับ ธีมฮาโลวีนปีนี้เลยขอนำเสนอ Dancing Skeleton เรียกได้ว่าเป็นธีมที่ทำให้รู้สึกเข้าถึงความเป็นเทศกาลเหมือนตอนเด็ก ๆ แต่ก็มีความหรูหราและเต็มไปด้วยแสงสีที่มีการออกแบบทิศทางของแสงอย่างเหนือชั้นร่วมกับเรื่องราวของธีมที่ทำให้รู้สึกว่าเหล่าโครงกระดูกได้ลุกออกมาเต้นระบำกันอย่างสนุกสนาน

THT Halloween IG Post 2 1
THT Halloween IG Post 3
THT Halloween IG Post 4

ความท้าทายของงานนี้
ในเชิงดีไซน์และโครงสร้าง :  Top 3 ของงานนี้

จากการศึกษาพื้นฐานของร้านที่ผู้บริหารเป็นการรวมตัวของชายหนุ่มกลุ่มเพื่อน ทีมงาน THEMEchitect ก็คิดว่า ต้องหากอะไรที่แตกต่างและเท่เสียหน่อย และมีจะกระตุ้นแรง surprise ให้ตื่นตาตื่นใจร่วมด้วย พวกเราเลยออกแบบงานนี้ให้มีแรงบันดาลใจจาก สีสันโทนแสง , ความเท่ในความรู้สึก และความตื่นเต้นของบรรยากาศของสถานที่ ที่มีการรวมกันของวัยรุ่นที่เรียกว่าเป็นผู้ใหญ่หัดขับ ธีมฮาโลวีนปีนี้เลยขอนำเสนอ Dancing Skeleton เรียกได้ว่าเป็นธีมที่ทำให้รู้สึกเข้าถึงความเป็นเทศกาลเหมือนตอนเด็ก ๆ แต่ก็มีความหรูหราและเต็มไปด้วยแสงสีที่มีการออกแบบทิศทางของแสงอย่างเหนือชั้นร่วมกับเรื่องราวของธีมที่ทำให้รู้สึกว่าเหล่าโครงกระดูกได้ลุกออกมาเต้นระบำกันอย่างสนุกสนาน

สิ่งท้าทายอย่างที่ 1 :

เทคนิคการเคลื่อนไหว : งานนี้เราได้มีเทคนิคในการใช้เรื่องของการสะท้อนของแสงมาใช้ในทุก ๆ ส่วนของงาน ไม่ว่าจะเป็นกระจกม่านตาข่าย หรือลูก disco หรือตัวหัวกระโหลกที่ได้ทาตัวด้วยกลิตเตอร์ริ่งเอาไว้จนทั่ว แต่สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือ แล้วจะทำอย่างไรให้มันเกิดความเคลื่อนไหว เหตุใดการเคลื่อนไหวถึงสำคัญ ในการที่แสงจะกระทบให้วิบวับได้ มันต้องเกินจากการที่หน้าตัดของกระจกนั้น วางตัวในองศาเฉพาะ (มีไม่กี่องศา) กับกระจกตาเราพอดีเท่านั้น และเปลี่ยนตำแหน่งตัวสะท้อนให้สลับสับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เราจึงเห็นการกระโดดของแสงที่ข้ามไปมาได้อย่างน่าสนใจ ดังนั้นลองคิดดูว่าดวงตาของเรามีขนาดเล็กแค่ไหน และ ศีรษะของเรานั้นมีการ ขยับอย่างละเอียดทุก ๆ องศาอย่างไร ที่จะทำให้เกิดจังหวะแวบเดียวเท่านั้นที่แสงจะต้องกัน ดังนั้น ถ้าเรามีกระจกที่ตั้งนิ่ง ๆ เลยนั้นก็จะเท่ากับว่า เรามีองศาที่จะทำให้เกิดจุดสะท้อนอยู่น้อยนิดมาก ดังนั้น ทีมงานเลยต้องหาวิธีที่จะทำให้ทุกส่วนของ งานเกิดการเคลื่อนไว้ นิดนิด หน่อยหน่อยตลอดเวลา สิ่งที่เราได้ทำก็คือ หาจุดที่แอร์ลง และ เชื่อมต่อ งานเข้าด้วยกันเป็น เหมือนการเชื่อมต่อที่เป็นแห่ใหญ่ เมื่อส่วนหนึ่งขยับส่วนอื่นก็จะตามไป และนั่นก็เลยทำให้ เกิดวิธีที่เรียกว่า ”บ้านบ้าน” มากแต่ก็ได้ผล แม้กระทั้งตัว หัวกระโหลดตัวใหญ่ ก็หมุนวนตามแรงลมเบา ๆ ของแอร์ ที่พัดผ่าน กลับกลายเป็น โครงกระดูกที่วิบวับระยิบระยับ Dancing กันอย่างไม่หยุดไม่หย่อนกันเลยทีเดียว

สิ่งที่ท้าทาย1

สิ่งท้าทายอย่างที่ 2 :

เทคนิคแสง : การเล่นเทคนิคของแสง ในการออกแบบ แสงเรียกว่าเป็นศาสตร์ที่มีภูมิความรู้แยกออกจากคำว่า การออกแบบทั่วไป แสงมีองค์ความรู้ที่ลึก และละเอียดอ่อนมาก เพราะแสงนั้นคือสิ่งที่ทำให้เรามองเห็นงานศิลปะที่ นักออกแบบต้องการจะสื่อเรื่องราว วาดจินตนาการ หรืออวดเทคนิกต่าง ๆ หากไม่มีแสงเราก็จะไม่สามารถที่จะมองเห็นอะไรได้เลย นั่นก็คือเราจะไม่สามารถเห็นงานศิลปะนั้น หรือไม่ได้เห็นในมุมที่นักออกแบบต้องการให้เห็น หรือว่า เห็นมากเกินกว่าที่นักออกแบบตั้งใจไว้ ดังนั้นสิ่งที่ยากมากของงาน ศิลปะขนาดใหญ่นั่นก็คือ เรามีโอกาสทดลองเทคนิค อยู่ประมาณหนึ่งในพื้นที่ ที่เล็กกว่าขนาดจริง ทีมออกแบบเรียกว่า ต้องทดลองทุกอย่างในลักษณะภาพต่อ คือ ทดลองเป็นจุด แล้วก็เอาภาพเหล่านั้นมาประติดประต่อกัน ในสมองหรือดวงตา เห็นภาพในจินตนาการว่า หากเป็นพื้นที่ที่ใหญ่กว่านี้ เทคนิคที่ต้องการแสดงมันจะออกมาเป็นประมาณไหน ดังนั้น สิ่งที่ยากและทำให้ทีมกังวลไปในทุก ๆ งานที่เน้นเรื่องแสงก็ตรงที่ว่า แล้วในความจริงในการก่อสร้าง แสงสีจะออกมาตามนั้นไหม แต่สิ่งที่ทีมงานเราคิดเสมอคือ ความหน้าหลงไหลอีกอย่างของงานศิลปะที่เยี่ยมยอดจะเกิดจากสิ่งที่เหนือจินตนาการ เราต้องเสี่ยงมันบ้างและปรับหน้างานให้เกิดสิ่งที่ลงตัวมากที่สุด และเราก็จะเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิด (แต่ต้องทำจากกลุ่มคนที่มีประสบการณ์เท่านั้น) ทีมงานเราทดลองสิ่งใหม่อย่างไม่กลัวได้ แต่ทำให้เกิดสิ่งที่เหลือเชื่อได้เสมอจากสิ่งที่ทดลองจากความกล้าในการออกแบบ และงานก็ออกมาได้ตลึกกันไปเลยเมื่อเปิดไฟเต็มรูปแบบ

สิ่งท้าทายอย่างที่ 3 :

ขนาดของตัวงาน : สิ่งที่ต้องท่องไว้เสมอในการทำงาน ระยะสูงคือ อะไรที่เราคิดว่าใหญ่แล้ว มันจะเล็กลงอีกเท่าตัว เมื่อเราห้อยสูงขึ้นไป เนื่องจากงานนี้ เราต้องมีการออกแบบ และสั่งของล่วงหน้า จากคู่ค้าของทางเราซึ่งเราก็ได้แต่ประมาณขนาดจาก ระบบ 3d ว่านี่คือขนาดที่พอดี ทางเราต้องทำตัวโครงกระดูกจริง และก็เอาไปวางในตำแหน่งและ สร้างมุมมองในระดับคนจริง เพื่อเช็คให้แน่ใจว่า เมื่อโครงกระดูกนี้ขึ้นไปติดข้างบน แล้วมันจะไม่เล็กจนเกินไปหรือว่า ระยะห่างที่ตั้งใจมันจะไม่โล่งจนเกินไปใช่ไหม เราต้องวางแผนประมาณอย่างดีและยังต้องเตรียมของบางส่วนที่จะต้องเสริมหน้างาน เพราะใน3d เราจะเห็นภาพได้ประมาณหนึ่ง ความเป็นจริงหากเราจะสร้างงานศิลปะสักงาน เรียกว่าต้องเดินวนไปมา จากหลายทิศเพื่อให้เห็นมุมมองที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น 

ความท้าทายของงานนี้ในเชิง
Operation Top 3 ของงานนี้

จากการศึกษาพื้นฐานของร้านที่ผู้บริหารเป็นการรวมตัวของชายหนุ่มกลุ่มเพื่อน ทีมงาน THEMEchitect ก็คิดว่า ต้องหากอะไรที่แตกต่างและเท่เสียหน่อย และมีจะกระตุ้นแรง surprise ให้ตื่นตาตื่นใจร่วมด้วย พวกเราเลยออกแบบงานนี้ให้มีแรงบันดาลใจจาก สีสันโทนแสง , ความเท่ในความรู้สึก และความตื่นเต้น ของบรรยากาศของสถานที่ ที่มีการรวมกันของวัยรุ่นที่เรียกว่าเป็นผู้ใหญ่หัดขับ ธีมฮาโลวีนปีนี้เลยขอนำเสนอ Dancing Skeleton เรียกได้ว่าเป็นธีมที่ทำให้ รู้สึกเข้าถึงความเป็นเทศกาลเหมือนตอนเด็ก ๆ แต่ก็มีความหรูหราและเต็มไปด้วยแสงสีที่มีการออกแบบทิศทางของแสงอย่างเหนือชั้นร่วมกับเรื่องราว ของธีมที่ทำให้รู้สึกว่าเหล่าโครงกระดูกได้ลุกออกมาเต้นระบำกันอย่างสนุกสนาน

สิ่งท้าทายอย่างที่ 1 :

การทดลองระบบไฟ : การทดลองกับ สถานที่โดยเฉพาะงานไฟ จะต้องทำได้แค่ช่วงเวลาทีช่างเทคนิคไฟเข้างานแล้วเท่านั้น ดังนั้น สิ่งที่เราทดลองมาจากที่โรงงาน ก็เรียกว่าตอนติดตั้งต้องทำไป จินตนาการไปว่ามันต้องเป็นอย่างนี้อย่างนั้น ไม่ได้ทำไปทดลองไปตั้งแต่ต้น แต่ด้วยเนื่องจากทางเราก็มีประสบการณ์ในการทำงานประมาณหนึ่ง พอที่จะทำให้มองเห็นว่า ความเป็นไปได้ของการเดินทางของแสงน่าจะเป็นอย่างไร(กรุณาอย่าลอกเลียนแบบเพราะอาจจะพังได้ เนื่องจากการเล่นกับไฟมันไม่ง่ายอย่างที่คิด ถ้าไม่ได้ทำมาบ่อยจะเป็นการเสี่ยงมากที่จะทำไปแล้วแสงไม่สะท้อนหรือสะท้อนแล้วไม่สวย) เรียกว่า ติดตั้งในความมืดแต่สว่างสดใสในตากันเลยที่เดียว แต่งานนี้ พอช่างเทคนิคเข้ามาทดลองไฟ ทุกอย่างก็เรียกว่าสวยเกินคาด

สิ่งท้าทายอย่างที่ 2 :

prop ละเอียด : การที่จะทำให้ตัวโครงกระดูกมีชีวิตจริง ๆ ได้นั้นเราต้องทำการ ใส่โครง หรือมีการปรับท่าทางด้วย เส้นเอ็นต่าง ๆ ซึ่งด้วยความที่โครงกระดูก เองเป็นวัตถุที่มีความบางและเรียกว่าไม่มีจุดให้บังในการซ่อนโครงเลยทำให้ทำงาน ได้ค่อนข้างยากที่จะทำให้ดูเหมือนมันมีชีวิตได้เอง เพราะว่าถ้าเราไม่ได้มีเทคนิค ในการซ่อนโครงหรือซ่อนตัวยึดมันก็จะดูไม่สมจริงสมจังทันที่ เพราะมันก็จะดูเป็น โครงกระดูกที่เรียกว่าตายแล้วและแขวนอยู่กับแท่งเหล็กไม่ได้มีอะไรดูลอย หรือมีขีวิตได้ด้วยตัวเองทันที

challenge2

สิ่งท้าทายอย่างที่ 3 :

กำลังไฟ : การกำหนดกำลังไฟ ให้แรงพอที่จะสะท้อนให้เห็นลำแสงไฟ การที่เราต้องการให้เห็น การสะท้อนของแสงอย่างเจิดจ้า หรือแค่เบาบางในสถานที่เดียวกัน สิ่งที่ต้องกำหนดและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือกำลังไฟ เพราะ เราอาจจะออกแบบไว้อย่างดี หากไฟมันไม่ถึง ความระยับในการสะท้อนก็จะไม่เกิดขึ้นหรือเมื่อจังหวะที่ต้องการให้แสงออกมาดูสงบสลัว แต่ยังได้ความระยับ เราก็ต้องรู้วิธีที่จะปรับ ลำแสงไฟให้พอดีให้พอดิม และไม่ทำลายบรรยากาศของสถานที่

งานที่ออกมาทำให้ผู้ที่มาสัมผัสงานนี้รู้สึกอย่างไร :

ตลึงหลุดโลก : ที่จริงแล้วงานนี้ เมื่อมองไปแวบแรก งานก็อาจจะดูสวยแบบธรรมดาตอนที่ยังไม่ได้เปืดไฟ ก็เป็นบรรยากาศฮาโลวีนเนี่ยแหละ ที่ทำให้ แต่ละคนก็มีของห้อยห้อยไปมา แบบระยับเบา ๆ บาง ๆ แต่เมื่อคลิปตูมเปิดแสงไฟสาดเข้ามาเท่านั้น พลังงานของแสงที่สาดปาดเข้ามาที่พร็อพกระชากใจ ทำให้หลงมนต์อย่างกับ พลังแสงสามารถปลุกตื่นทุกชีวิตได้จริง ๆ ดวงตาของเราจะถูกเปิดกว้างและอึ้งกับแสงที่พร่างพราวรอบตัว จนรู้สึกได้เลยว่าจะตายมานานแค่ไหนมันก็ต้องลุก ลุกขึ้นเต้นให้สุดกันเลยทีเดียว

4
5
6

THEMEchitect ให้บริการออกแบบและตกแต่งสถานที่ครบวงจร พร้อมให้คำปรึกษาและบริการตกแต่งเวที ติดตั้ง Backdrop โครงสร้างงานอีเวนท์ Art Installation และ Hook Service สำหรับร้านอาหาร ผับ และบาร์ ที่ต้องการสร้างบรรยากาศโดดเด่นไม่เหมือนใคร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงการติดตั้ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจและตอบโจทย์ทุกความต้องการในงานอีเวนท์หรือสถานที่ของคุณ

ติดต่อ ทีมจัดพร็อบตกแต่งงานและจัดหาอุปกรณ์จัดงานอีเว้นท์
Facebook: Themechitect
Instagram: Themechitect
Line: @thepartysetter
หรือคลิกที่นี่ >>> https://lin.ee/znqigKH
โทร: 062-645-6624